วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ การพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้วิธีสอนแบบMIA สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ โดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นางรุ่งอรุณ ทวยจัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา”
ปีที่พิมพ์ 2553

บทคัดย่อ

รายงานผลการพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษ โดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA ตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผล
ของการเรียนรู้ของนักเรียนโดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 39 คน ได้มา
โดยการเลือกแบบวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ1 (อ21101) จำนวน 6 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง มีค่าคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านโดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA จำนวน 30 ข้อ มีค่าคุณภาพเท่ากับ 1
3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการสอนอ่าน
แบบ MIA จำนวน 20 ข้อ มีค่าคุณภาพเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA มีประสิทธิภาพ
(E1/E2) เท่ากับ 76.53 / 75.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนโดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA มีค่าเท่ากับ 0.5721
แสดงว่า นักเรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.5721 หรือคิดเป็นร้อยละ 57.21
3. นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการสอนอ่านแบบ MIA
โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.62 อยู่ในระดับความคิดเห็นมากที่สุด

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบMIA ขั้นที่ 6-7

6. ขั้นทำแบบฝึกหัดต่อชิ้นส่วนประโยค และเรียงโครงสร้างอนุเฉท
(Doing jigsaw exercise and paragraph structure)
ในขั้นนี้ ผู้สอนให้ประโยคมาจำนวนหนึ่ง แล้วให้ผู้เรียนเรียบเรียงอนุเฉทซึ่งนั่นก็คือ กิจกรรมการต่อชิ้นส่วน สำหรับกิจกรรมนี้ตามความคิดเห็นของ เมอร์ดอกช์ คิดว่ามีประโยชน์มากอย่างยิ่งทั้งเป็นการฝึกพูดและคิด ผู้เรียนต้องใช้สมาธิอย่างมาก วิธีการคือผู้สอนตรียมชิ้นส่วนของประโยคให้จำนวนหนึ่ง แล้วให้แต่ละกลุ่มพยายามต่อชิ้นส่วนต่างๆของประโยคเหล่านั้นให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ และเรียงประโยคเหล่านั้นตามลำดับที่ถูกต้องด้วยกิจกรรมการต่อชิ้นส่วนนี้ อาจจะให้ทำเป็นกลุ่ม หรือทำเป็นรายบุคคลก็ได้ประโยคที่ให้ต้องเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งและกิจกรรมนั้นๆ ก็เพื่อต่อประโยคให้ถูกต้อง อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหา หรือรู้เรื่องที่เกิดขึ้น การนำข้อมูลของแต่ละคนมาต่อกันต้องพูดและถามกัน แล้วพิจารณาเลือกข้อมูลมาต่อกันให้เป็นเรื่องราวที่ถูกต้อง และตลอดระยะเวลาทำกิจกรรม จะพบว่า ผู้เรียนให้ความสนใจและเกิดแรงจูงใจในการเรียนอย่างมาก เช่น การให้เรียงประโยคต่อไปนี้ ให้เป็นเรื่องราวที่ถูกต้อง
7. ขั้นประเมินผลและแก้ไข (Evaluating and correcting)
การประเมินผลการเรียนนั้น ส่วนใหญ่ก็ทำกันอยู่เกือบทุกขั้นตอนแต่ในขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลงานส่วนรวมอีกครั้งหนึ่ง และให้การแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องของภาษาเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานที่ดีแก่ผู้เรียนต่อไป

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบMIA ขั้นที่ 5

5. ขั้นถ่ายโอนข้อมูล (Transferring information)
เป็นขั้นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนนำความรู้ หรือ ข้อมูลที่ได้จากการอ่านมาเสนอใหม่ในรูปแบบอื่น เช่น อาจจะให้นำความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากการอ่านมาเสนอใหม่ ในรูปแบบตารางแผนภูมิ กราฟ หรือแผนที่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความเหมาะสมของข้อมูล หากผู้เรียนทำได้ก็ย่อมแสดงว่าผู้เรียนจับประเด็นสำคัญๆได้ กิจกรรมอย่างนี้น่าสนใจมากตามความคิดเห็นของเมอร์ดอกช์ ที่กล่าวว่ามันไม่ใช่แบบฝึกหัดทั่วๆไป แต่เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนหาทางแก้ไขปัญหาวิดโดสัน (Widdowson. 1979 : 141-142) กล่าวว่ากิจกรรมแบบ การถ่ายโอนข้อมูลนี้เป็นกิจกรรมที่ดี และนับเป็นการสอนเพื่อการสื่อสาร หรือเป็นการแปลงรูปข้อมูลให้เป็นไปอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น หากผู้สอนคิดว่าผู้เรียนเข้าใจ และมีความรู้ในสิ่งที่อ่านแล้ว อาจให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในการเขียนแทนคำพูดก็ได้ หรืออาจเขียนในรูปภาพอธิบาย หรือแผนภาพ(Diagram) เป็นต้น เขากล่าวต่อไปว่า กิจกรรมแบบนี้จะช่วยส่งผลต่อผู้เรียนถึงสองทาง คือพัฒนาความสามารถในการอ่าน ซึ่งเป็นการสื่อสารจากคำพูดของผู้เขียนไปสู่ตัวหนังสือให้ผู้เรียนได้อ่าน และอีกด้านหนึ่ง คือช่วยพัฒนาความสามารถด้านการเขียนด้วย เช่น ตาราง 2 แสดงการถ่ายโอนข้อมูลในรูปแบบอื่น

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบMIA ขั้นที่ 4

4. ขั้นทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง (Understanding the Text)
ในขั้นนี้ เมอร์ดอกช์ เชื่อว่า เป็นขั้นที่จะใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ดี คือ การให้ผู้เรียนเติมข้อความจากประโยคปลายเปิด ที่ผู้สอนกำหนดให้ โดยผู้เรียนเขียนเติมประโยคเหล่านั้น ให้เป็นประโยคข้อความที่สมบูรณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน (A Sentence Completion Exercise)และการให้ผู้เรียนเติมข้อความนั้น ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่า ผู้เรียนจะไม่สามารถไปลอกประโยค
จากเนื้อเรื่องมาตอบได้แต่หากผู้สอนคิดว่าความสามารถของผู้เรียนไม่สามารถที่จะใช้ภาษา และสำนวนของตัวเองได้ อาจจะแก้ไขโดยวิธีเลือกประโยคที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง (Main Idea) มาเป็นประโยคที่ให้ผู้เรียนเติมใจความสมบูรณ์แทนก็ได้ และเชื่อว่าจากกิจกรรมทั้ง 3 ขั้นที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นพื้นฐานอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องได้วิดโดสัน (Widdowson. 1979: 119-122) กล่าวว่า แบบฝึกหัดเพื่อความเข้าใจนั้น จะต้องมีการเตรียมอย่างดี และต้องพร้อมที่จะทำแบบฝึกหัดเหล่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสริมให้ผู้เรียน พยายามใช้คำพูดหรือเขียนออกมาเป็นภาษาของตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าไปร่วมปัญหาอย่างแท้จริง แบบฝึกหัดเหล่านั้นได้แก่
1. การเติมคำให้สมบูรณ์ (Completion)
2. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อมูลที่ได้รับ (Transformation)
วิดโดสัน ไม่นิยมใช้คำถามแบบเลือกตอบ (Multiple choices) เพราะผู้เรียนอาจจะเกิดการสับสนหรือใช้การเดา และไม่ช่วยพัฒนาทักษะอื่นเลย ตรงกันข้ามหากฝึกให้ผู้เรียนตอบแบบเติมคำให้สมบูรณ์ หรือ แบบเปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อมูลที่ได้รับ นอกจากเป็นการฝึกการอ่านแล้ว การเขียนของผู้เรียนก็ได้รับการพัฒนาด้วยพร้อมกัน เช่น

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบMIA ขั้นที่ 3

3. ขั้นอ่านเนื้อเรื่อง (Reading the text)
ผู้สอนแจกบทอ่าน (The text) ให้ผู้เรียนอ่านตามเวลาที่กำหนดให้ ซึ่งในเนื้อหานั้นจะแตกต่างกับเนื้อหาปกติคือ จะมีคำถามย่อยแทรกอยู่ในเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำสรรพนามในเนื้อเรื่อง อันจะเป็น การกระตุ้นและส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านที่ดียิ่งขึ้น เช่น จากการวิเคราะห์เนื้อหาแบบนี้ นอกจากจะทำให้ผู้เรียนสามารถอ่านเรื่องได้เข้าใจขึ้นแล้ว ยังจะช่วยทำให้ผู้เรียนต้องใช้ความคิดตลอดเวลา และต้องพยายามทำความเข้าใจเรื่องโดยตลอดด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า จากการกระตุ้นผู้เรียนด้วยวิธีนี้ ผู้เรียนจะมีแรงขับ (Drive) ในการเรียนรู้มากขึ้น เนื้อเรื่องและคำถามในเรื่องจะเป็นสิ่งเร้า (Stimulus) การที่ผู้เรียนเขียนตอบ คือ การตอบสนอง (Response) และได้รับแรงเสริม (Reinforcement) จากการเฉลยคำตอบในตอนหลัง ซึ่งมี หลักการอย่างเดียวกับบทเรียนโปรแกรมสำเร็จรูป และ เป็นไปตามกระบวนการเรียนรู้ที่ดีของ มิลเลอร์ (จรัญ รัตนศิลา. 2539: 48; อ้างอิงจาก Miller. 1973: 15-19) คือ การเรียนที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้แรงขับ แรงกระตุ้น การตอบสนอง แรงเสริม (Drive) (Stimulus) (Response) (Reinforcement)

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบMIA ขั้นที่ 2

ขั้นตอนการสอนอ่านโดยวิธี MIA
ขั้นตอนการสอนอ่านแบบ MIA นี้ เมอร์ดอกช์ ได้ให้แนวทางในการสอนดังต่อไปนี้คือ
2. ขั้นหาความหมายของคำศัพท์ (Finding the meaning of vocabularies)
สำหรับขั้นตอนนี้ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจว่าคำศัพท์บางคำ ที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมาย ( Key Words) นั้น ผู้เรียนมีความเข้าใจถูกต้องแล้วหรือยังโดยผู้สอนจะเป็นคนเลือกคำศัพท์เหล่านั้น ขึ้นมาเอง คำบางคำผู้เรียนอาจจะรู้ความหมายแล้ว หรือคำบางคำหากมีความหมายหลายอย่าง ผู้สอนอาจจะเขียนความหมายของคำศัพท์คำนั้นให้อยู่ในสถานการณ์ที่พบก็ แฮริส; และซิเพย์ (Harris; & Sipay. 1979 : 294-295) กล่าวว่าถึงแม้ว่าการอ่านเพื่อความเข้าใจนั้นต้องอาศัยความสามารถหลายๆ อย่างรวมกัน ไม่เฉพาะแต่รู้ความหมายของคำศัพท์เพียงอย่างเดียว แต่คำศัพท์มีส่วนอย่างมาก ต่อความเข้าใจในการอ่าน หากคะแนนความเข้าใจสูง คะแนนความสามารถการใช้คำศัพท์จะสูงตามด้วยดังนั้น จะเห็นได้จากตัวอย่างบทอ่านข้างต้น คำศัพท์เหล่านี้จะช่วยปูพื้นฐานให้ผู้เรียนได้อย่างมากอีกขั้นตอนหนึ่ง เพื่อจะส่งผลต่อความเข้าใจในการอ่านในโอกาสต่อไป ซึ่งตรงกับความคิดของ วิดโดสัน (Widdowson. 1985 : 82-86) ที่ว่า การอ่านเพื่อความเข้าใจนั้น เราต้องพยายามขจัดปัญหา และอุปสรรคในการที่จะสะกัดกั้นไม่ให้ผู้เรียนเข้าใจบทอ่าน เช่น คำ หรือวลีที่ยากๆ วิธีการอย่างหนึ่งที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ก็คือ ให้ผู้เรียนเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นก่อนการอ่านซึ่งจะได้นำสิ่งเหล่านั้นไปใช้แก้ปัญหาในการอ่านได้

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบMIA ขั้นที่ 1

ขั้นตอนการสอนอ่านโดยวิธี MIA
ขั้นตอนการสอนอ่านแบบ MIA นี้ เมอร์ดอกช์ ได้ให้แนวทางในการสอนดังต่อไปนี้คือ
1. ขั้นถามคำถามนำก่อนการอ่าน (Asking priming questions)
เป็น ขั้นตอนที่ครูผู้สอนจะตั้งคำถาม หรือข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้น และก่อให้เกิดการอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ก่อนที่จะอ่านเรื่องนั้นๆ เท่ากับว่าเป็นการโน้มน้าวให้ผู้เรียนสนใจเรื่องที่จะอ่านในโอกาสต่อไป การอภิปรายร่วมกันเป็นกระบวนการคาดคะเนล่วงหน้าว่าเรื่องที่จะอ่านนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร พอถึงเวลาอ่านจริงๆทุกๆ
คนก็พยายามจะค้นหาคำตอบว่าตามที่พวกตนคิดคำตอบไว้ล่วงหน้านั้น ตรงกับเรื่องที่จะอ่านหรือไม่การอ่านจึงเป็นการกระตุ้นเร้าใจผู้เรียนให้หาคำตอบ ซึ่งตรงกับความคิดของ กูดแมน (Williams.1994 : 3 ; อ้างอิงจาก Goodman. 1967 :126) ที่กล่าวไว้ว่า ”การอ่านเป็นเกมการเดาชนิดหนึ่งการอ่านเป็นการเดาว่า สิ่งที่อ่านนั้นตรงกับความคิดของตนที่คาดหวังไว้หรือไม่”
นอกจากนี้ คำถามนำ ยังช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงขับ (Drive) ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียน นั่นคือ การกระตุ้นผู้เรียนด้วยปัญหาที่คั่งค้างไว้ในใจผู้เรียน หลังการอภิปรายร่วมกันว่า สิ่งที่พวกตนเดากันไว้นั้นเป็นการเดาที่ถูกต้องมากน้อยเพียงใด จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงขับอยากจะอ่านเพื่อหาคำตอบให้ตนเอง

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบMIA

ความเป็นมาของการสอนอ่านโดยวิธี MIA
เมอร์ดอกซ์ Murdoc อาจาย์สอนภาษาอังกฤษของ Kuwait University เป็นผู้คิดวิธีสอนภาษาอังกฤษโดยยึดหลักจิตภาษาศาสตร์มาใช้ในการสอนเพื่อการสื่อสาร โดยใช้ชื่อว่า A more Integrated Apporach to the Teaching of Reading เป็นการเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ใช้ทักษะต่างๆ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ควบคู่กันไป เพราะการสอนที่แยกแต่ละทักษะออกจากกันโดยเด็ดขาด ถือว่าไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้รอบรู้ทางภาษา และนอกจากนี้เขายังกล่าวต่อไปว่า การสอนอ่านแล้วให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดแบบเลือกตอบ (Multiple choices) หรือแบบ ถูก-ผิด (True-False) นั้นไม่ใช่เป็นการฝึกการอ่านที่ดีผู้เรียนจะไม่พัฒนาทักษะอย่างอื่นเลย แบบฝึกหัดที่ดีที่สุดควรจะเป็นแบบฝึกที่ต้องคิดและเขียนออกมาเป็นคำพูดของตน การใช้แบบฝึกหัดแบบนี้ถือว่าเป็นการสอนเพื่อการสื่อสารที่ดีมากอีกอย่างหนึ่งด้วย