วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการสอนอ่านแบบMIA ขั้นที่ 4

4. ขั้นทำความเข้าใจเนื้อเรื่อง (Understanding the Text)
ในขั้นนี้ เมอร์ดอกช์ เชื่อว่า เป็นขั้นที่จะใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ดี คือ การให้ผู้เรียนเติมข้อความจากประโยคปลายเปิด ที่ผู้สอนกำหนดให้ โดยผู้เรียนเขียนเติมประโยคเหล่านั้น ให้เป็นประโยคข้อความที่สมบูรณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน (A Sentence Completion Exercise)และการให้ผู้เรียนเติมข้อความนั้น ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่า ผู้เรียนจะไม่สามารถไปลอกประโยค
จากเนื้อเรื่องมาตอบได้แต่หากผู้สอนคิดว่าความสามารถของผู้เรียนไม่สามารถที่จะใช้ภาษา และสำนวนของตัวเองได้ อาจจะแก้ไขโดยวิธีเลือกประโยคที่เป็นใจความสำคัญของเรื่อง (Main Idea) มาเป็นประโยคที่ให้ผู้เรียนเติมใจความสมบูรณ์แทนก็ได้ และเชื่อว่าจากกิจกรรมทั้ง 3 ขั้นที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็นพื้นฐานอย่างเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนอ่านเนื้อเรื่องได้วิดโดสัน (Widdowson. 1979: 119-122) กล่าวว่า แบบฝึกหัดเพื่อความเข้าใจนั้น จะต้องมีการเตรียมอย่างดี และต้องพร้อมที่จะทำแบบฝึกหัดเหล่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้องเสริมให้ผู้เรียน พยายามใช้คำพูดหรือเขียนออกมาเป็นภาษาของตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าไปร่วมปัญหาอย่างแท้จริง แบบฝึกหัดเหล่านั้นได้แก่
1. การเติมคำให้สมบูรณ์ (Completion)
2. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อมูลที่ได้รับ (Transformation)
วิดโดสัน ไม่นิยมใช้คำถามแบบเลือกตอบ (Multiple choices) เพราะผู้เรียนอาจจะเกิดการสับสนหรือใช้การเดา และไม่ช่วยพัฒนาทักษะอื่นเลย ตรงกันข้ามหากฝึกให้ผู้เรียนตอบแบบเติมคำให้สมบูรณ์ หรือ แบบเปลี่ยนแปลงรูปแบบข้อมูลที่ได้รับ นอกจากเป็นการฝึกการอ่านแล้ว การเขียนของผู้เรียนก็ได้รับการพัฒนาด้วยพร้อมกัน เช่น

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะ ครูรุ่ง
    หนู ด.ญ.ทิพย์อาภา ดีจันทึก ม.1/2 เลขที่ 27
    หนูขอเม้นว่า......การทำความเข้าใจเนื้อเรื่องจะทำให้ผู้เรียนมีการได้คิดและตอบปัญหาในเนื้อเรื่องได้ดีค่ะและการตั้งคำถามก็ควรตั้งคำถามให้ตรงกับเนื้อเรื่องและจะทำให้ผู้เรียนพัฒนาการอ่านและความเข้าใจไปในตัว
    เข้าใจแล้วค่ะ

    ตอบลบ